วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

472612:ADVANCED SEMINAR IN CURRICULUM AND INSTRUCTION FOR DOCTORAL STUDENTS II


วิชาการสัมมนาชั้นสูงด้านหลักสูตรและการสอนสำหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต

รศ.สมหญิง เจริญจิตรกรรม/รศ.ศิริพงศ์ พยอมแย้ม...อาจารย์ประจำวิชา

.........................................................................................................


การสัมมนาเรื่อง.

Constructivism กับงานวิจัย
  • บทนำ จุดมุ่งหมายสูงสุดของกระบวนการทางการศึกษาหรือการเรียนการสอนคือการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันกระบวนการเรียนการสอนได้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายรูปแบบหลายทฤษฎีเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมาย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว จนนำไปสู่แนวคิดทฤษฎี 4 กลุ่มทฤษฎีหลัก ได้แก่ ทฤษฎีกลุ่มพฤษติกรรมนิยม (behaviorism)ทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยมหรือพุทธินิยม (cognitivism) ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม (humanism) และทฤษฎีกลุ่มผสมผสาน (eclecteicism) ซึ่งแต่ละทฤษฎีมีความเชื่อและวิธีการแสวงหาความรู้ในการตอบปัญหาแตกต่างกัน...

  • คอนสตรัคติวิสต์คืออะไร? เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ โดยคำนึงถึงกระบวนการคิด (cognitive process) ความรู้ความเข้าใจหรือกระบวนการรู้คิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีปัญญานิยมหรือพุทธินิยม (cognitivism) โดยเฉพาะทฤษฎีพัฒนาการทางเชาน์ปัญญา (cognitive constructivism) ของ ยีน เพียเจต์ (Jean Piajet) และ ทฤษฎีบริบททางสังคม (social construcitvism) ของ วิก็อทสกี้ (Lev Vygotsky)

  • แนวคิดเกี่ยวกับคอนสตรัคติวิสต์ สุมาลี ชัยเจริญ (2545) ได้สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดของคอนสตรัคติวิสต์ไว้อย่างน่าสนใจไว้ดังนี้ 3.1) ความรู้ของบุคคลใดเป็นคือโครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหา และสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์อื่นๆ ได้ 3.2) ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจ และแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น 3.3) ครูมีหน้าที่ในการจัดการให้ผู้เรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนเอง ภายใต้ข้อสมมุติฐานต่อไปนี้ 3.1.3) สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา 3.1.2) ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในทำให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้ง 3.1.3) การไตร่ตรองบนพื้นฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีโครงสร้างใหม่ทางปัญญา

  • ความเชื่อของกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ นักวิตวิทยาและนักการศึกษากลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ เชื่อว่า 1.) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีมาก่อน โดยพยายามนำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ และปรากฎการณ์ที่ตนพบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญา หรือที่เรียกว่า "สกีมา"(schema) ซึ่งเป็นหน่วยที่เกที่สุดของโครงสร้างทางปัญญา หรือโครงสร้างของความรู้ในสมอง โครงสร้างทางปัญญานี้จะประกอบด้วยความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ภาษา หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสิ่งที่แต่ละบุคคลมีประสบการณ์หรือเหตุการณ์ อาจเป็นความเข้าใจหรือความรู้ของแต่ละบุคคล 2.) การเรียนรู้เป็นประบวนการสร้างมากกว่าการรับความรู้ เป้าหมายของการสอนจึงเป็นการสนับสนุนการสร้างมากกว่าการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมกับแต่ละคน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความรู้ที่มีความหมายตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คอนสตรัคติวิสต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่..Cognitive Constructivism และ..Social Constructivism

    .......Cognitive Constructivism........
  • มีรากฐานมาจากปรัชญาแฎบัตินิยม (pragmatism) และรากฐานทางจิติทยาพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitivism) องค์ประกอบสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญามี 2 อย่าง ได้แก่ อายุ (age) และ ช่วงระยะ (stage) ซึ่งอายุจะส่งผลให้เด็กเข้าใจหรือไม่เข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดแตกต่างกัน ส่วนช่วงระยะ เป็นทฤษฎีด้านการพัฒนาความสามารถในการคิด (cognitive ability) ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักสำคัญของ cognitive constructividsm

  • ทางด้านการเรียนการสอนมีแนวคิดว่า มนุษย์เราต้องสร้าง (construct)ความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างทางปัญญาหรือที่เรียกว่า "สกีมา"และรูปแบบการทำความเข้าใจ (mental model) สกีมา ในสมองสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุล หรือที่เรียกว่า "iquilibrium" ด้วยการขยายได้ และหรือสร้างความสลับซับซ้อนได้ โดยผ่านทาง กระบวนการการดูดซึม (assimilation) และการปรับเปลี่ยน (accommodation) โครงสร้าง

  • ทิศนา แขมมณี (2544) อธิบายว่า ทฤษฎี constructivism เชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ ในโลกที่มีอยู่จริงนั้น "ความหมาย"ของสิ่งต่าง ๆ นั้นไม่ได้มีอยู่ในตัวของมันเอง แต่จะขึ้นอยู่กับการให้ความหมายของแต่ละบุคคล ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมาย และการสร้างความรู้ความเข้าใจจากการรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อ และถือว่ากระบวนการในสมองหรือภายในเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่แต่ละบุคคลใช้ในการแปลความหมายของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในโลกนี้ และอาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนจะไม่เพียงแต่รับข้อมูล ความรู้เท่านั้น แต่ขะต้องจัดกระทำกับข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ และสร้างความหมายหรือความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง

........Socail Constructivism........

  • Vygotsky มีแนวคิดร่วมกับ Piajet ในเรื่องการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่ Vygotsky ได้เน้นเกี่ยวกับบริบทการเรียนรู้ทางสังคม (social context learning) โดยเขาได้เปิดโอกาสให้ครูหรือผู้เรียนที่มีอาวุโสกว่าแสดงบทบาทในการเรียนรูของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะVygotsky เชื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องมือทางปัญญาที่จำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบและการพัฒนาเครื่องมือดังมือดังกล่าว มีการกำหนดรูปแบบและอัตราการพัฒนามากกว่าที่กำหนดไว้ในทฤษฎีของเพียเจต์ โดยเชื่อว่าผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีความอาวุโส เช่น พ่อแม่ และครู จะเป็นเสมือนท่อนำหรือเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมและภาษาทุกวัน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  • ตามแนวคิดของ Vygotsky ที่ว่าเด็กจะพัฒนาในกลุ่มของสังคมที่จัดขึ้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมควรเชื่อมความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ทั้งผู้เรียนด้วยกันเอง หรือผู้เรียนอื่น ควรสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถได้รับการส่งเสริมในกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งกระตุ้นและเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้แทนที่ครูผู้สอนเหมือนกระบวนการเรียนการสอนทั่วไป ไม่ใช้ครูเข้ามากำกับ ยืนมอง สำรวจเท่านั้น แต่ครูควรแนะนำเมื่อผู้เรียนประสบปัญหา กระตุ้นให้เขาปฎิบัตินในกลุ่มด้วยการคิดพิจารณาประเด็นปัญหา แนะแนวทางให้ผู้เรียนต่อสู้กับปัญหา และเกิดความท้าทาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นรากฐานของสถานการณ์ในชีวิตจริงที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และได้รับความพึงพอใจในผลของงานที่พวกเขาได้ลงมือกระทำ
  • การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับ social constructivism กิจกรรมและรูปแบบไม่จำเป็นต้องจัดเหมือนกัน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แต่มีหลักสำคัญที่สอดคล้องกับหลักของ social constructivism ดังนี้คือ 1) การเรียนรู้และการพัฒนาด้านสังคมคือกิจกรรมการร่วมมือ (collaborative activity) 2) ขอบเขตของการพัฒนาควรสนองต่อแนวทางจัดหลักสูตรและการวางแผนบทเรียน 3) การเรียนรู้ในโรงเรียนควรเกิดขึ้นในบริบทที่มีความหมาย ซึ่งไม่ควรแยกการเรียนรู้และความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนามาจากชีวิตจริง (real world) 4) ประสบการณ์นอกโรงเรียนควรจะมีการเชื่อมโยงนำมาสู่ประสบการณ์ในโรงเรียนของผู้เรียน

การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เชิงชุมชนการเรียนรู้ของผู้เรียน

Jonassen Ca[bell & Davidson (1994) ให้ข้อเสนอแนะว่า กระบวนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ควรจะเน้นคุณภาพของการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน โดยการเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทาง constructivism ดังนี้
1) การกระทำ (action) ผุ้เรียนได้ลมือกระทำกับข้อมูลอย่างรู้ตัวและรับผิดชอบ
2) การสร้าง (constructive) ผู้เรียนปรับเปลี่ยนแนวคิดหใมเข้าไปสู่ความรู้เดิมหรือทำให้สมดุล เพื่อที่จะสร้างความหมาย หรือประนีประนอมทางความคิด (reconcile) ความกระตือรือร้น หรือการสร้างความประทับใจ
3) การร่วมมือ (collaboratiอำ) ผู้เรียนจะทำงานร่วมกันในการเรียนรู้และชุมชนการสร้างความรู้ และแลกเปลี่ยนทักษะแต่ละทักษะ ในขณะที่มีการสนับสนุนทางสังคม และการสร้างรูปแบบ รวมถึงการสังเกต และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิก
4) ความตั้งใจ (intention) ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยความตั้งใจ เต็มใจ และพยายามที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางพุทธิปัญญา
5) การสนทนา (conversation) การเรียนรู้เป็นสิ่งที่อยู่ในกระบวนการสนทนาแลกเปลี่ยนทางสังคม ซึ่งผู้เรียนจะใช้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของชุมชนการสร้างความรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน
6) บริบท (conceptualized) ภารกิจการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เหมาะสมในบางภารกิจ การเรียนตามสภาพจริงที่มีความหมาย หรือการจำลองผ่านสิ่งแวดล้อมทางการาเรียนรู้ที่เป็นกรณี (czde-based) หรือการแก้ปัญหา(problem-based)
7) การไตร่ตรองหรือใคร่ครวญ (reflective) ผู้เรียนจะได้อธิบายชัดเจนว่าพวกเขาได้เรียนรุ้และไร่ตรองเกี่ยวกับกระบวนการและการตัดสินใจ อันนำมาซึ่งกระบวนการในการเรียนรู้คุณลักษณะสัมพันธ์ระหว่างกัน ปฎิสัมพันธ์อิสระต่อกัน การประสานข่องผลลัพธ์ที่มีคุณภาพในการเรียนรู้มากกว่าการที่คุณลักษณะที่เป็นรายบุคคลที่แยกเดี่ยว ๆ

ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีตามแนวคิดของ constructivism

สุมาลี ชัยเจริญ (2545) ได้เสนอข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีตามแนว constructivism ไว้ดังนี้
1) เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เป็นมากกว่าเครื่องมือ เทคโนโลยีประกอบด้วยการออกแบบที่จะช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียน กลยุทธการเรียนรู้ทางพทุทธิปัญญา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเทคนิคความสามารถในการประยุกต์
2) เทคโนโลยีการเรียนรู้ เป็นสิ่งแวดล้อมใด ๆ หรือชุดที่สามารถนิยามของกิจกรรมที่สนับสนุนผู้เรียน ในการสร้างความรู้และสร้างความหมาย
3) การสร้างความรู้ไม่ใช่สนับสนุนด้วยการใช้เทคโนโลยีเป็นผู้ส่งหรือทำหน้าที่เป็นพาหะส่งผ่านความรูหรือการสอน ที่จะควบตคุมปฎิสัมพันธ์ผู้เรียนทั้งหมด
4) เทคโนโลยีช่วยในการสนับสนุนการสร้างความรู้ จะเป็นการดีถ้าผู้เรียนต้องการหรือมีแรงขับ เมื่อมีปฎิสัมพันธ์ นั่นเป็นการที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง และผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม ในขณะที่เทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยให้มีปฎิสัมพันธ์ หรือช่วยเหลือให้เกิดแนวคิดและสติปัญญา
5) เทคโนโลยีเสมือนชุดเครื่องมือที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้สร้างการอธิบายของตนเองอย่างมีความหมาย และนำเสนอในชีวิตจริง ชุดเครื่องมือนี้ต้องสนับสนุนองค์ประกอบทางปัญญาที่สนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ของรายวิชาที่จะเรียน
6) ผู้เรียนและเทคโนโลยี เทคโนโลยีควรเปรียบเสมือนเพื่อนทางปัญญาของผู้เรียนและช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบทางพุทธิปัญญาสำหรับการแสดงออก

บทบาทที่แท้จริงของเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ตามแนว constructivism

บทบาทที่แท้จริงของเทคโนโลยีกับการเรียนรู้ มีดังนี้
1) เทคโนโลยีในฐานะเป็นเครื่องมือ
........ใช้สำหรับการเข้าถึบงข้อมูล
........ใช้สำหรับการนำเสนอแนวความคิดใหม่และชุมชนการเรียนรู้
........ใช้สำหรับการสร้างผลิตผล
2) เทคโนโลยีในฐานะเป็นเครื่องมือทางพุทธิปัญญา
........ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้เรื่องอะไร
........ใช้เพื่อการไตร่ตรองเกี่ยวกับอะไรที่ผู้เรียนเรียนรู้และผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างไร
........ใช้เพื่อสนับสนุนการต่อรองภายใน ในขณะที่มีการสร้างความหมาย
........ใช้สำหรับการสร้างสิ่งที่เป็นรูปธรรมแทนความหมาย
3) เทคโนโลยีในฐานะเป็นบริบท
........ใช้สำหรับนำเสนอและจำลองปัญหาในสภาพจริง สถานการณ์จริง และเป็นบริบทที่มีความหมาย ใช้ในการนำเสนอความเชื่อ แนวความคิดที่หลากหลาย ข้อโต้แย้งและเรื่องราวอื่น ๆ
........ใช้สำหรับนิยามช่องว่างของปัญหาที่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะในการคิดของผู้เรียน
........ใช้ในการสนับสนุนการสนทนาระหว่างชุมชนการสร้างความรู้ของผู้เรียน

สุมาลี ชัยเจริญ (2545) ได้สรุปถึบทบาทของเทคโนโลยีกับการจัดการเรียนรู้ตามแนว constructivism ไว้ว่า เทคโนโลยีที่นำมาใช้ตามแนวคิดนี้อาจมิได้เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการออกแบบเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียนด้านการเรียนรู้ทางพุทธิปัญญา การคิดอย่างรู้ตัว ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถประยุกต์ไปใช้กับเนื้อหาอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการสร้างความรู้และความหมาย ไม่ใช่เพียงทำหน้าที่เป็นพาหนะขนส่งความรู้ หรือ การสอน นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดรวบยอด สติปัญญา ช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้สามารถอธิบายความเข้าใจของตนเองอย่างมีความหมาย และการจำลองบริบทที่เป็นสภาพจริง ในส่วนที่เป็นเครื่องมืออาจเป็นฐานข้อมูลความรู้ เครือข่ายของความหมาย ระบบผู้เชี่ยวชาญ การประชุมทางไกลโดยคอมพิวเตอร์ และการสร้างมัลติมีเดียหรือสื่อหลายมิติที่ช่วยกระตุ้นการคิดของผู้เรียนเมื่อใช้เครื่องมือสร้างสื่อหรือสัญลักษณ์ขึ้นมาแทนความรู้ในสมอง ส่วนที่เป็นสภาพบริบท ได้แก่ การสร้าง และการจัดหาบริบทและสถานการณ์จาการแก้ปัญหาข่องผู้เรียน ตลอดจนการสร้างความรู สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ในกรณีศึกษา (case-based learning) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม (situated learning environment) สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์สำหรับการเรียนด้วยการลงมือกระทำอย่างตื่นตัว (rich environment fo active learning) การเรียนรุ้ด้วยการแก้ปัญหา (problem-based learning) และ Microworld ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือที่มุ่งเน้นให้เป็นสาถนการณ์ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนที่จะค้นหา และดำเนินการแก้ปัญหาอย่างมีความหมาย ซึ่งเป็นปัญหาตามสภาพจริง พร้อม ๆ ไปกับการจัดสิ่งที่ช่วยเหลือสนับสนุน เช่น การช่วยเหลือการฝึกสอน(coaching) งานต้นแบบ (modeling) หรือการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างก้าวหน้าเจริญเติบโตเข้าใปสู่ขอบเขตที่ใกล้เคียงในการพัฒนา ซึ่งเป็นขอบเขตที่ผุ้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ ตามทฤษฎี social constructivism ของ Vygotsky
........อย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีตามแนวคิดของ constructivism ดังที่กล่าวมาแล้ว มีผลต่อแนวคิดของนักการศึกษาและนักจิตวิทยาในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง ทั้งเทคโนโลยีที่อยู่ในฐานะเครื่องมือ และในฐานะเป็นบริบท ทั้ง 2 บทบาทหากนำมาใช้ควบคู่กันไปอย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ