วิชาการสัมมนาชั้นสูงด้านหลักสูตรและการสอนสำหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต
รศ.สมหญิง เจริญจิตรกรรม/รศ.ศิริพงศ์ พยอมแย้ม...อาจารย์ประจำวิชา
.........................................................................................................
การสัมมนาเรื่อง.
Constructivism กับงานวิจัย
- บทนำ จุดมุ่งหมายสูงสุดของกระบวนการทางการศึกษาหรือการเรียนการสอนคือการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันกระบวนการเรียนการสอนได้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายรูปแบบหลายทฤษฎีเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมาย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว จนนำไปสู่แนวคิดทฤษฎี 4 กลุ่มทฤษฎีหลัก ได้แก่ ทฤษฎีกลุ่มพฤษติกรรมนิยม (behaviorism)ทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยมหรือพุทธินิยม (cognitivism) ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม (humanism) และทฤษฎีกลุ่มผสมผสาน (eclecteicism) ซึ่งแต่ละทฤษฎีมีความเชื่อและวิธีการแสวงหาความรู้ในการตอบปัญหาแตกต่างกัน...
- คอนสตรัคติวิสต์คืออะไร? เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ โดยคำนึงถึงกระบวนการคิด (cognitive process) ความรู้ความเข้าใจหรือกระบวนการรู้คิดที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีปัญญานิยมหรือพุทธินิยม (cognitivism) โดยเฉพาะทฤษฎีพัฒนาการทางเชาน์ปัญญา (cognitive constructivism) ของ ยีน เพียเจต์ (Jean Piajet) และ ทฤษฎีบริบททางสังคม (social construcitvism) ของ วิก็อทสกี้ (Lev Vygotsky)
- แนวคิดเกี่ยวกับคอนสตรัคติวิสต์ สุมาลี ชัยเจริญ (2545) ได้สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดของคอนสตรัคติวิสต์ไว้อย่างน่าสนใจไว้ดังนี้ 3.1) ความรู้ของบุคคลใดเป็นคือโครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหา และสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์อื่นๆ ได้ 3.2) ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจ และแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น 3.3) ครูมีหน้าที่ในการจัดการให้ผู้เรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนเอง ภายใต้ข้อสมมุติฐานต่อไปนี้ 3.1.3) สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา 3.1.2) ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในทำให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้ง 3.1.3) การไตร่ตรองบนพื้นฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
- ความเชื่อของกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ นักวิตวิทยาและนักการศึกษากลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ เชื่อว่า 1.) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีมาก่อน โดยพยายามนำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ และปรากฎการณ์ที่ตนพบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญา หรือที่เรียกว่า "สกีมา"(schema) ซึ่งเป็นหน่วยที่เกที่สุดของโครงสร้างทางปัญญา หรือโครงสร้างของความรู้ในสมอง โครงสร้างทางปัญญานี้จะประกอบด้วยความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ภาษา หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสิ่งที่แต่ละบุคคลมีประสบการณ์หรือเหตุการณ์ อาจเป็นความเข้าใจหรือความรู้ของแต่ละบุคคล 2.) การเรียนรู้เป็นประบวนการสร้างมากกว่าการรับความรู้ เป้าหมายของการสอนจึงเป็นการสนับสนุนการสร้างมากกว่าการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมกับแต่ละคน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความรู้ที่มีความหมายตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คอนสตรัคติวิสต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่..Cognitive Constructivism และ..Social Constructivism
.......Cognitive Constructivism........ - มีรากฐานมาจากปรัชญาแฎบัตินิยม (pragmatism) และรากฐานทางจิติทยาพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitivism) องค์ประกอบสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญามี 2 อย่าง ได้แก่ อายุ (age) และ ช่วงระยะ (stage) ซึ่งอายุจะส่งผลให้เด็กเข้าใจหรือไม่เข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดแตกต่างกัน ส่วนช่วงระยะ เป็นทฤษฎีด้านการพัฒนาความสามารถในการคิด (cognitive ability) ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักสำคัญของ cognitive constructividsm
- ทางด้านการเรียนการสอนมีแนวคิดว่า มนุษย์เราต้องสร้าง (construct)ความรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างทางปัญญาหรือที่เรียกว่า "สกีมา"และรูปแบบการทำความเข้าใจ (mental model) สกีมา ในสมองสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุล หรือที่เรียกว่า "iquilibrium" ด้วยการขยายได้ และหรือสร้างความสลับซับซ้อนได้ โดยผ่านทาง กระบวนการการดูดซึม (assimilation) และการปรับเปลี่ยน (accommodation) โครงสร้าง
- ทิศนา แขมมณี (2544) อธิบายว่า ทฤษฎี constructivism เชื่อว่า สิ่งต่าง ๆ ในโลกที่มีอยู่จริงนั้น "ความหมาย"ของสิ่งต่าง ๆ นั้นไม่ได้มีอยู่ในตัวของมันเอง แต่จะขึ้นอยู่กับการให้ความหมายของแต่ละบุคคล ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมาย และการสร้างความรู้ความเข้าใจจากการรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อ และถือว่ากระบวนการในสมองหรือภายในเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่แต่ละบุคคลใช้ในการแปลความหมายของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในโลกนี้ และอาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนจะไม่เพียงแต่รับข้อมูล ความรู้เท่านั้น แต่ขะต้องจัดกระทำกับข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ และสร้างความหมายหรือความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
........Socail Constructivism........
- Vygotsky มีแนวคิดร่วมกับ Piajet ในเรื่องการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่ Vygotsky ได้เน้นเกี่ยวกับบริบทการเรียนรู้ทางสังคม (social context learning) โดยเขาได้เปิดโอกาสให้ครูหรือผู้เรียนที่มีอาวุโสกว่าแสดงบทบาทในการเรียนรูของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะVygotsky เชื่อว่าสังคมและวัฒนธรรมจะเป็นเครื่องมือทางปัญญาที่จำเป็นสำหรับการพัฒนารูปแบบและการพัฒนาเครื่องมือดังมือดังกล่าว มีการกำหนดรูปแบบและอัตราการพัฒนามากกว่าที่กำหนดไว้ในทฤษฎีของเพียเจต์ โดยเชื่อว่าผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีความอาวุโส เช่น พ่อแม่ และครู จะเป็นเสมือนท่อนำหรือเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมและภาษาทุกวัน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- ตามแนวคิดของ Vygotsky ที่ว่าเด็กจะพัฒนาในกลุ่มของสังคมที่จัดขึ้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมควรเชื่อมความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ทั้งผู้เรียนด้วยกันเอง หรือผู้เรียนอื่น ควรสร้างบริบทสำหรับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถได้รับการส่งเสริมในกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งกระตุ้นและเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้แทนที่ครูผู้สอนเหมือนกระบวนการเรียนการสอนทั่วไป ไม่ใช้ครูเข้ามากำกับ ยืนมอง สำรวจเท่านั้น แต่ครูควรแนะนำเมื่อผู้เรียนประสบปัญหา กระตุ้นให้เขาปฎิบัตินในกลุ่มด้วยการคิดพิจารณาประเด็นปัญหา แนะแนวทางให้ผู้เรียนต่อสู้กับปัญหา และเกิดความท้าทาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นรากฐานของสถานการณ์ในชีวิตจริงที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และได้รับความพึงพอใจในผลของงานที่พวกเขาได้ลงมือกระทำ
- การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับ social constructivism กิจกรรมและรูปแบบไม่จำเป็นต้องจัดเหมือนกัน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แต่มีหลักสำคัญที่สอดคล้องกับหลักของ social constructivism ดังนี้คือ 1) การเรียนรู้และการพัฒนาด้านสังคมคือกิจกรรมการร่วมมือ (collaborative activity) 2) ขอบเขตของการพัฒนาควรสนองต่อแนวทางจัดหลักสูตรและการวางแผนบทเรียน 3) การเรียนรู้ในโรงเรียนควรเกิดขึ้นในบริบทที่มีความหมาย ซึ่งไม่ควรแยกการเรียนรู้และความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนามาจากชีวิตจริง (real world) 4) ประสบการณ์นอกโรงเรียนควรจะมีการเชื่อมโยงนำมาสู่ประสบการณ์ในโรงเรียนของผู้เรียน